Wednesday, April 20, 2016

ศาลฎีกาพิพากษายืน ผอ.ประชาไท ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กรณีปิดความเห็นในเว็บบอร์ดช้า


เนื้อหาข่าว
            23 ธ.ค. 2558 ที่ห้องพิจารณาคดี 908 ศาลอาญา รัชดา ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ในคดีที่ จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไทเป็นจำเลยในความผิดตามมาตรา 15 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ให้จำคุก 8 เดือน ปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกรอลงอาญา จากกรณีที่ปล่อยให้มีการโพสต์ผิดกฎหมายในเว็บบอร์ดประชาไทนาน 20 วัน
            ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจบุกค้นสำนักงานประชาไทและควบคุมตัวจำเลย มีการแจ้งข้อกล่าวหาและระบุการกระทำผิดในการลบความเห็นในเว็บบอร์ดประชาไทช้า รวมแล้วถึง 10 ข้อความหรือ 10 กรรม อย่างไรก็ตาม จำเลยได้รับการประกันตัวมาตั้งแต่ชั้นสอบสวน ต่อมา ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อ 30 พ.ค. 2555 ให้จำคุก 1 ปี ปรับ 30,000 บาท แต่ทางนำสืบของจำเลย
            คำพิพากษาศาลฎีการะบุว่า การพิจารณาว่าจำเลยจงใจหรือไม่นั้นเป็นไปได้ยากจึงพิจารณาจากประจักษ์พยานแวดล้อมเพื่อเป็นเครื่องชี้เจตนา โดยศาลชี้ว่าจำเลยไม่ได้ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการส่งข้อมูล IP address ของผู้ใช้บริการเว็บบอร์ดที่โพสต์ข้อความเข้าข่ายหมิ่นสถาบันให้โดยไม่ต้องร้องขอ โดยมีทั้งกรณีที่จำเลยได้รับหมายเรียกพยานแล้ว แต่ไม่เตรียมข้อมูลจราจรไปให้ จนต้องขอความร่วมมือและมีการนำมาให้ในภายหลัง และกรณีที่ไม่ส่งข้อมูลให้จนเลยระยะเวลา 90 วันตามกฎหมายที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ต้องเก็บ IP address ไว้ ทำให้พนักงานสอบสวนไม่สามารถดำเนินคดีกับผู้ใช้รายอื่นได้
วิเคราะห์ข่าว
             ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท หรือ ซึ่งก็คือผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท โดยได้มีการปล่อยให้มีคนมาโพสต์ข้อความที่ผิดกฎหมายในเว็บบอร์ดประชาไท ซึ่งได้ทำการปล่อยปะละเลยให้มีข้อความที่ผิดกฎหมายอยู่บนเว็บบอร์ดกว่า 20 วัน
พฤติกรรมการกระทำผิด
            โพสต์ข้อความเข้าข่ายหมิ่นสถาบัน ความสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในบริบทสังคมไทย
วิธีการป้องกัน
            ควรให้ความสำคัญกับสถาบันกษัตริย์ เเละมิควรมีการเเสดงความคิดเห็น
บทลงโทษ
มาตรา 15 ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14
มาตรา 18 ภายใต้บังคับมาตรา 19 เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวน ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(1) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(2) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(3) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา 26 หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(4) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(5) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(6) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(7) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(8) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 26 ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่า เก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่ง ให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้  ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง  ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
ที่มาของข่าว : http://prachatai.com/journal/2015/12/63117
มาช่าขอโทษ ภาพหลุด เตรียมเอาผิดมือดีปล่อยภาพหลุด


เนื้อหาข่าว
            มาช่า แถลงขอโทษมีภาพหลุดอื้อฉาวกับผู้ชาย เผย หลุดจากโทรศัพท์ที่ทำหาย ปัด พูดถึงผู้ชายในภาพ แต่แจ้งความเอาผิดคนปล่อยแล้ว หวังเป็นเรื่องซวยเรื่องสุดท้ายของชีวิต พร้อมวอนขอให้หยุดเผยแพร่ภาพ ด้าน หมวดเจี๊ยบ ผู้สมัครส.ส.พรรคเพื่อไทย เกาะกระแสโผล่มอบดอกไม้ให้กำลังใจ  หลังจากที่เมื่อหลายวันก่อน หนังสือพิมพ์สยามดาราได้นำเสนอข่าวภาพหลุดสาวหน้าคล้าย นักร้องชื่อดัง “มาช่า วัฒนพานิช” กำลังบรรเลงเลิฟซีนกับผู้ชายที่ระบุว่าหน้าคล้าย “นายซีริล รูฮานี (Cyril Rouhani)” อดีตโปรดิวเซอร์ชาวฝรั่งเศสคู่กรณี ที่เคยร่วมกันทำงานเพลง Im Back และตอนนี้กำลังมีเรื่องฟ้องร้องกันอยู่ หลุดออกมาทำเอาช็อคกันทั้งวงการบันเทิงซึ่งหลังจากที่นักร้องดังมาช่าเอาแต่หลบหน้าสื่อ ไม่ยอมให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ล่าสุดในวันนี้(25 มิ.ย.) เวลา 17.00 น. เจ้าตัวก็ได้ออกมาแถลงข่าวด้วยตัวเอง กลางกองละครเรื่อง “ลิขิต เสน่หา” ออกอากาศทางช่อง 3 ที่ รพ.เกษมราษฏร์ บางแค พร้อมกับยอมรับว่าเป็นสาวที่อยู่ในภาพอื้อฉาวนั้นจริง เผย เป็นภาพที่อยู่ในโทรศัพท์ที่ทำหาย แต่ปฏิเสธที่จะพูดถึงผู้ชายในภาพ ก่อนจะเอ่ยขอโทษแฟนๆ ที่มีภาพทำนองนี้หลุดออกมา
            “เรื่องรูปที่แพร่ออกไปมันเป็นความผิด และสามารถดำเนินคดีได้ ช่าขอร้องอย่าเผยแพร่รูปออกไป มีคนกลั่นแกล้งก็ต้องต่อสู้กันไป กับคนที่เชื่อว่าปล่อยรูปตั้งแต่มีคดีความ ก็ไม่ได้ติดต่อกันไม่ได้พูดคุย คงปล่อยให้เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่วนเรื่องคนนั้นที่มีคดีติดตัวที่ต่างประเทศ ก็คิดว่าคนดีๆ ก็คงไม่ทำเรื่องแบบนั้น อยากให้เป็นคดีตัวอย่าง บางครั้งเราคิดกับเขาในแง่ดีเกินไป”
            สรุปข่าว : นักร้องชื่อดัง “มาช่า วัฒนพานิช” แถลงข่าวขอโทษหลังจากมีภาพหลุดอื้อฉาวกับผู้ชาย เผยว่าภาพดังกล่าวหลุดมาจากโทรศัพท์ที่ทำหายแต่ได้แจ้งความเอาผิดคนปล่อยดังกล่าวแล้ว
วิเคราะห์ข่าว
            จากข่าว ได้มีคนทำการปล่อยภาพหลุดของ มาช่า ซึ่งได้ทำการเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาติและทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ซึ่งคนปล่อยภาพหลุดนั้นผิดแน่นอน
พฤติกรรมการกระทำผิด
            ปล่อยภาพอนาจาร ทำให้ผู้อื่นเสียงชื่อเสียงเเละเกิดความเสียหายอย่างร้ายเเรง
วิธีการป้องกัน
            ไม่ควรเก็บภาพแบบนี้ไว้ เพื่อป้องกันชื่อเสียงของตนเอง
บทลงโทษ
            มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(๑) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ(๔)
มาตรา ๑๕  ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี การกระทําความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดตาม มาตรา ๑๔มาตรา ๑๖ ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่ง เป็นการนําเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทําไม่มีความผิดความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
ที่มาของข่าวhttp://www.learners.in.th/blogs/posts/480911

แสบออนไลน์! เปิดเว็บขายมือถือ ส่งปลากระป๋องให้ลูกค้า




เนื้อหาข่าว
จับหนุ่มแสบเปิดเว็บไซต์ขายของทั้งกล้อง มือถือ แมว ต้มตุ๋นหลอกเหยื่อโอนเงินให้ แต่ส่งกล้วยหอม ปลากระป๋องไปแทน จนมาช่วงหลังไม่ส่งอะไรให้เลย มีผู้เสียหายทั่วประเทศร่วมครึ่งร้อย ตร.ตามรวบตัวได้ อ้างจำเป็นต้องหาเงินเลี้ยงลูก...
เมื่อวันที่ 19 ก.พ.59 ที่หน้า สภ.เมืองอุดรธานี พล.ต.ต.พีระพงศ์ วงษ์สมาน ผบก.ภ.จ.อุดรธานี พ.ต.อ.ภูมิวิทย์ เวชกามา ผกก.สภ.เมืองอุดรธานี พ.ต.ท.ชาญณรงค์ มากพิสุทธิ์ รอง ผกก.สส.สภ.เมืองอุดรานี ร.ต.อ.อรรคพล ยี่เกาะ ร.ต.อ.จตุพร เบ็ญจกุล ร.ต.อ.ปาณุทรรศน์ ศิริวาลย์ ร.ต.อ.บรรจง พาโคตร ร.ต.อ.วิเชียร คล้อยดี รอง สว.สส.สภ.เมืองอุดรธานี แถลงข่าวจับกุม นายธีระวุฒิ สุขสวัสดิ์ อายุ 23 ปี อยู่บ้านเลขที่ 181/90 หมู่ 11 ต.หนองอ้อ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
ทั้งนี้ นายธีระวุฒิ เป็นผู้ต้องหา ตามหมายจับศาลจังหวัดอุดรธานี ที่ จ 79/2559 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ข้อหาฉ้อโกงประชาชนโดยการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์ พร้อมของกลาง คอมพิวเตอร์ 1 ชุด โทรศัพท์มือถือ 5 เครื่อง สมุดบัญชีเงินฝาก 8 เล่ม บัตรเอทีเอ็ม 2 ใบ โดยจับกุมได้เมื่อเย็นวันที่ 18 ก.พ. ที่ผ่านมา ที่บ้านพักใน จ.ราชบุรี ควบคุมตัวมาทำการสอบสวน
พล.ต.ต.พีระพงศ์ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 9 ก.พ.59 ร.ต.อ.อรรคพล ยี่เกาะ รอง สว.สส.สภ.เมืองอุดรธานี ได้รับแจ้งจาก น.ส.กัลยรัตน์ อุทิศบุญ อายุ 20 ปี อยู่บ้านเลขที่ 145/27 หมู่ 1 ซอยบ้านหนองบัว ต.หมากแข้ง อ.เมืองอุดรธานี ว่าเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ได้สั่งซื้อกล้องฟรุ้งฟริ้ง ดิจิตอล ฟูจิ รุ่น เอ็ม 2 ราคา 12,000 บาท ผ่านทางเว็บไซต์ ขายดี ดอทคอม และโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารหมายเลข 080-9-012-39-4 ชื่อบัญชีนายธีระวุฒิ สุขสวัสดิ์ แต่ไม่ส่งสินค้ามาให้ และไม่สามารถติดต่อได้ จึงสืบสวนสอบสวนรวบรวมหลักฐาน ขออนุมัติหมายจับและติดตามจับกุมตัว
จากการสอบสวนนายธีระวุฒิ ให้การรับสารภาพว่า กำลังเรียน กศน.ระดับ ม.ปลาย ได้เข้าสมัครเป็นสมชิกของเว็บไซต์ขายของ เพื่อนำสินค้ามาเสนอขายทางหน้าเว็บ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ กล้องถ่ายรูป มือถือ ไอแพด แมว และธนบัตรสะสมของประเทศต่างๆ ระยะแรกส่งสินค้าให้ลูกค้าได้ตามปกติ แต่มาช่วงหลังตนสั่งสินค้าแต่คนที่ตนสั่งสินค้าด้วยเบี้ยว ไม่ส่งสินค้ามาให้ เงินที่ลงทุนไปต้องสูญเปล่า จึงคิดหาเงินคืนด้วยการประกาศขายสินค้า เมื่อลูกค้าสั่งสินค้าและโอนเงินมาแล้ว จะส่งของอย่างอื่นไปให้ เช่น กล้วยหอมแทนมือถือไอโฟน ปลากระป๋องแทนกล้อง จนมาช่วงหลังๆ เมื่อรับเงินก็จะไม่ส่งสินค้าเลย ซึ่งลูกค้าที่ถูกเบี้ยวไม่ส่งสินค้าให้มีประมาณ 50 รายทั่วประเทศ ที่ต้องทำเช่นนี้เพราะต้องหาเงินไปเลี้ยงลูกอายุ 2 เดือน กระทั่งมาถูกตำรวจจับ
ผบก.ภ.จ.อุดรธานี กล่าวด้วยว่า จากการสืบสวนทราบว่า นายธีระวุฒิ ได้ฉ้อโกงประชาชนทั่วประเทศ มีตำรวจหลายท้องที่กำลังติดตามจับกุม เงินที่ได้จากการฉ้อโกงต้มตุ๋น จะนำไปใช้จ่ายเที่ยวเตร่ ไม่ได้นำไปเลี้ยงลูกอย่างที่กล่าวอ้าง
วิเคราะห์ข่าว
นายธีระวุฒิ ได้ทำการฉ้อโกงประชาชนโดยการเปิดเว็บไซต์ขายของโดยได้ทำการขายกล้อง มือถือ แมว แต่พอลูกค้าได้ทำการสั่งซื้อกลับส่งกล้วยหอม หรือ ปลากระป๋องให้แทน ซึ่งเป็นการหลอกลวงต้มตุ๋นผ่านการซื้อของออนไลน์
พฤติกรรมการกระทำผิด
เมื่อลูกค้าสั่งสินค้าและโอนเงินมาแล้ว จะส่งของอย่างอื่นไปให้ เช่น กล้วยหอมแทนมือถือไอโฟน ปลากระป๋องแทนกล้อง
วิธีการป้องกัน
ควรตรวจสอบประวัติการค้าขายของผู้ขายให้ดี ตรวจสอบดูว่าหลักฐานการยืนยันตัวตนชัดเจนหรือป่าว ก่อนที่จะโอนเงิน
บทลงโทษ
 มาตรา14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
1.             นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
2.             นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
3.             นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
4.             นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1)(2) (3) หรือ (4)

ข้อมูลข่าว http://www.thairath.co.th/content/579800
เซียนไก่โคราช แจ้งตร.ถูกแฮกเฟซบุ๊ก แอบอ้างซื้อขายไก่ชน เสียหายหลายแสน

เนื้อหาข่าว
เสี่ยฟาร์มไก่ชนโคราช วิ่งโร่แจ้งร้องถูกมือดีลอบแฮกเพจเฟชบุ๊ก 'ซุ้มหนุ่มโรงหมี่' ที่มีผู้ติดตามนับแสนราย แอบอ้างซื้อขายลูกไก่ชนพันธุ์ดี หลอกให้ลูกค้าโอนเงิน คาดเสียหายหลายแสน ตั้งรางวัลนำจับ 5 หมื่นบาท...
เมื่อวันที่ 25 มี.ค. ที่สำนักงานตำรวจภูธรภาค 3 อ.เมืองนครราชสีมา นายภาณุมาศ คิดการ อายุ 40 ปี เจ้าของฟาร์มไก่ชนชื่อดัง ซุ้มหนุ่มโรงหมี่ อ.ขามสะแกแสง จ.นครราชสีมา หอบหลักฐานเข้าแจ้งความร้องทุกข์กับ พล.ต.ต.ธเนษฐ สุนทรสุข รอง ผบช.ภ.3 หลังถูกมือดีเข้าไปแฮกเพจเฟชบุ๊ก แอบอ้างเป็นเจ้าของฟาร์มไก่ หลอกให้ลูกค้าซื้อไก่ชน โอนเงินเข้าบัญชี มูลค่าความเสียหายวันละกว่า 1 แสนบาท

นายภาณุมาศ กล่าวว่า ตัวเองมีอาชีพทำฟาร์มเพาะขยายพันธุ์ไก่ชนมานานกว่า 8 ปี มีพ่อพันธุ์ไก่ชนราคาแพง ตัวละ 4 ล้านบาท ล่าสุดเพิ่งซื้อพ่อพันธุ์มาจากนายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ชน (แอ๊ด คาราบาว) ตัวละ 1 ล้านบาท โดยเปิดขายลูกไก่ชนสายพันธุ์ดีผ่านทางแฟนเพจเฟชบุ๊ก ชื่อ "ซุ้มหนุ่มโรงหมี่" มีแฟนเพจกว่า 1 แสนคน เข้ามาติดตาม หลังถูกคนร้ายเข้ามาแฮกข้อมูล ส่วนความเสียหายจะต้องรอผู้เสียหายที่เป็นลูกค้าของตน และถูกหลอกขายให้โอนเงินไปแล้ว ว่ามีจำนวนกี่ราย เป็นเงินรวมกันทั้งสิ้นเท่าไหร่ แต่คาดว่าจะมีเหยื่อที่ถูกหลอกสูญเงินไปแล้วหลายแสนบาท ภายหลังทราบข้อมูล จึงเข้าแจ้งความเอาผิดกับคนร้ายมือดีมาดำเนินคดีตามกฎหมาย พร้อมตั้งรางวัลนำจับ 50,000 บาท
วิเคราะห์ข่าว
เสี่ยฟาร์มไก่โคราช ถูกแฮ็คเกอร์มือดีแฮ็คเฟสบุ๊ค "ซุ้มหนุ่มโรงหมี่" ซึ่งเป็นเฟสบุ๊คที่มีไว้สำหรับซื้อขา
ไก่ชนราคาแพง และ เพจนี้ได้โดนแฮคเกอร์นำไปแอบอ้างซื้อขายลูกไก่ชนพันธุ์ดี หลอกให้ลูกค้าโอนเงินมาให้ตัวเอง ซึ่งถือว่าเป็นการหลองลวงผู้อื่น

พฤติกรรมการกระทำผิด
แฮกเพจเฟชบุ๊ก แอบอ้างเป็นเจ้าของฟาร์มไก่ หลอกให้ลูกค้าซื้อไก่ชน โอนเงินเข้าบัญชี มูลค่าความเสียหายวันละกว่า 1 แสนบาท 
วิธีการป้องกัน
อย่าหลงเชื่อผู้คนผ่านทางออนไลน์ง่าย ๆ ควรจะขอหลักฐานการยืนยันตัวตนให้แน่ชัดก่อนจะโอนเงิน
บทลงโทษ
 มาตรา14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
1.             นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
2.             นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
3.             นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
4.             นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1)(2) (3) หรือ (4)
ข้อมูลข่าว :  http://news.sanook.com/crime/

ตัดสินคดี sms ‘อากง’ ผิดคดีหมิ่น+พ.ร.บ.คอมพ์ จำคุก 20



เนื้อหาข่าว

    จำเลย ถูกกล่าวหาว่าใช้โทรศัพท์มือถือ หมายเลข 081-349-3615 ส่งข้อความอันอาจเป็นการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และหมิ่นประมาทใส่ความให้ร้ายสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทั้งหมด 4 ครั้งไปยังโทรศัพท์มือถือหมายเลขโทรศัพท์ 081-425-5599 ของนายสมเกียรติ  ครองวัฒนสุข  ขณะดำรงตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553

        3 สิงหาคม 2553 จำเลย วัย 61 ปี ถูกจับกุมในข้อหากระทำความผิดตามมาตรา 14 (2), (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา และคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข (คปค.) ฉบับที่ 41 โดยข้อความดังกล่าวมีลักษณะหยาบคาย เข้าข่ายจาบจ้วง ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

        จำเลยให้การปฏิเสธ ตั้งแต่ชั้นจับกุม โดยกล่าวว่าไม่รู้จักวิธีการส่ง SMS และหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ส่งนั้นก็ไม่ใช่ของตน ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเชื่อว่าผู้ส่งข้อความหักซิมการ์ดทิ้งไปแล้ว จึงสืบเบาะแสจากหมายเลขประจำเครื่อง (IMEI)

จำเลยเคยประกอบ อาชีพขับรถส่งของ ปัจจุบันไม่ได้ประกอบอาชีพอะไรแล้วเนื่องจากอายุมากและพูดไม่ถนัดหลังการ ผ่าตัดมะเร็งใต้ลิ้นตั้งแต่ปี 2550 ทุกวันนี้อาศัยอยู่กับภรรยาในห้องเช่าราคาเดือนละ 1,200 บาท ย่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ และอยู่ได้ด้วยเงินที่ได้รับจากลูกๆ อีกเล็กน้อย แต่ละวันมีหน้าที่ต้องเลี้ยงหลาน 3-4 คน

        หลังถูกจับกุมเมื่อ วันที่ 3 ส.ค.53 เขาถูกคุมตัวในเรือนจำนวน 63 วัน และได้ประกันตัวเมื่อวันที่ 4 ต.ค.53 หลังจากนั้น ในวันที่ 18 ม.ค. 54 อัยการมีคำสั่งฟ้องคดี จำเลยจึงต้องถูกควบคุมตัวอีกครั้ง ซึ่งศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวโดยให้เหตุผลว่า ข้อเท็จจริงตามข้อหาการกระทำความผิดตามฟ้องกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนและ ความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรง คดีอยู่ในชั้นพิจารณา หากผลการพิจารณาสืบพยานมีหลักฐานมั่นคงจำเลยอาจหลบหนี ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว

       นายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข ผู้กล่าวหาในคดีนี้ ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี แจ้งความต่อกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมความผิดทางเทคโนโลยี หลังจากได้รับ SMS จากเบอร์โทรศัพท์หมายเลข 0813493615 ที่ส่งมายังเครื่องของตนในวันที่ 9, 11, 12, 22 พ.ค. 2553 รวมจำนวน 4 ข้อความ

        นายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เป็นเลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 54 มติคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่าย การเมือง

        หลังการแจ้งข้อกล่าวหา กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยียื่นขอคำสั่งศาล ให้ออกหมายจับศาลอาญา รัชดา ที่ 1659 /2553 ลงวันที่ 29 ก.ค.53 ข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ตาม ป.อาญา มาตรา 112 มีโทษจำคุก 3-15 ปี

        3 สิงหาคม 2553 เวลา 7.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ 15 นาย นำโดย พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู ผบช.ก. พ.ต.อ.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ รรท.ผบก.ป. พ.ต.อ.พรศักดิ์ สุรสิทธิ์ ผกก.1 บก.ป. พ.ต.ท.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ รอง ผกก.1 บก.ป. และ พ.ต.ท.สุทธิเวท บุญยรัตกลิน สว.กก.1 บก.ป. พร้อมด้วยสื่อมวลชน เข้าจับกุม นายอำพล ตั้งนพกุล ที่บ้านเลขที่ 52 หมู่ที่ 1 ต.คลองสวน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ โดยจับกุมได้ที่ห้องเช่าไม่มีเลขที่ ตั้งอยู่ระหว่างซอยวัดด่านสำโรง 17/1 และซอยวัดด่านสำโรง 19 หมู่ที่ 4 ต.สำโรงเหนือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ พร้อมของกลางโทรศัพท์มือถือยี่ห้อโมโตโรล่า 2 เครื่อง และยี่ห้อเทเลวิซ อีก 1 เครื่อง ซุกซ่อนอยู่ในตู้เสื้อผ้า

จำเลยปฏิเสธข้อหา ตั้งแต่ชั้นจับกุม โดยกล่าวว่าไม่รู้จักวิธีการส่งข้อความสั้นบนโทรศัพท์มือถือ ไม่เคยส่งเอสเอ็มเอสเลย เพราะส่งไม่เป็น มีโทรศัพท์ไว้สำหรับโทรออกอย่างเดียว และเขากล่าวด้วยว่าเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้ส่ง SMS นั้นไม่ใช่เบอร์ของเขา และโทรศัพท์เครื่องที่จำเลยใช้งานอยู่นั้นเคยเป็นของลูกเขย ซึ่งให้เขาเอามาใช้อีกทีหนึ่ง

        พล.ต.ท.ไถง กล่าวผ่านหนังสือพิมพ์มติชนว่า ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ส่งข้อความตามที่ถูกกล่าวหา แต่ยอมรับว่า โทรศัพท์ทั้งหมดเป็นของตนจริง แต่ได้เลิกใช้ไปนานแล้ว ทั้งนี้ผู้ต้องหาไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง จึงไม่เชื่อว่าจะทราบเบอร์โทรศัพท์มือถือของบุคคลสำคัญของประเทศและส่ง ข้อความที่ไม่เหมาะสมได้ จึงเชื่อว่าจะมีผู้สนับสนุนหรืออยู่เบื้องหลัง และยังเชื่อว่าจำเลยเป็นฮาร์ดคอร์กลุ่มคนเสื้อแดง จ.สมุทรปราการ ที่ กอ.รมน. ขึ้นบัญชีดำไว้ด้วย

จำเลยถูกจับกุมโดยไม่ได้รับการประกันตัวเป็นเวลา 63 วัน จากนั้นในวันที่ 29 ก.ย.53 ทนายความยื่นประกันตัวครั้งที่สอง โดยใช้ที่ดินของญาติเป็นหลักทรัพย์ และเมื่อวันที่ 4 ต.ค.53 ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ประกันตัว โดยให้เหตุผลว่า หลักประกันน่าเชื่อถือได้ว่าจำเลยจะไม่หลบหนี

        18 ม.ค. 54 อัยการมีคำสั่งฟ้องนายอำพลเป็นจำเลยในคดีที่มีการส่งข้อความหมิ่นเบื้องสูง ไปยังนายกรัฐมนตรีและบุคคลสำคัญ มีความผิดตามมาตรา 14 (2),(3) ตามพ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวตเตอร์ฯ และมาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา

วิเคราะห์ข่าว
             จำเลยได้ได้ทำการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์โดยการส่งข้อความ sms ไปยังโทรศัพท์อีกเครื่อง

ของนายสมเกียรติ  ครองวัฒนสุข  ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งถือเป็นการดูหมิ่นเบื้องสูงต้องได้รับโทษ

พฤติกรรมการกระทำผิด
            ส่งข้อความอันอาจเป็นการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์

วิธีการป้องกัน

               ไม่ควรใช้โทรศัพท์พิมพ์ข้อความในลักษณะดูหมิ่น หรือ กล่าวว่าใคร ซึ่งถ้าหากใช้ไม่ถูกวิธีอาจมีความผิดตามข่าวข้างต้นได้

           
บทลงโทษ
 มาตรา14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
1.    นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
2.    นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
3.    นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
4.     นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
5.     เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1)(2) (3) หรือ (4)


ข้อมูลข่าว :  http://prachatai.com/journal/2011/11/37991

          ตำรวจบุกรวบหมอสาวคาโรงพยาบาลธนบุรี เอี่ยวคดี ทุบหุ้น รับเคยโพสต์ข้อความมิบังควรลงเว็บบอร์ดจนท.ค้นห้องพักยึดโน้ตบุ๊ค



เนื้อหาข่าว
            จากกรณีที่ตำรวจหลายหน่วยงานได้ร่วมกันจับ นายคธา ปาจาริยพงษ์ พนักงานบริษัทหลักทรัพย์เคที ซีมิโก้ จำกัด น.ส.ธีรนันต์ วิภูชนันธ์ อายุ 43 ปี กรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ยูบีเอส (ประเทศไทย) จำกัด และนายสมเจตน์ อิทธิวรกุล อายุ 38 ปี เจ้าของโต๊ะสนุ๊กเกอร์แห่งหนึ่งในชลบุรี ผู้ต้องหาทั้ง 3 ราย ได้ทำกระทำผิดตาม พรบ.ว่าด้วยการทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เรื่องการโพสต์ข้อความอันมิบังควรผ่านทางเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ต จนก่อให้เกิดความไม่มั่นคงต่อประเทศชาติและส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจรวมถึง ตลาดหุ้นไทย
           ล่าสุดตำรวจก็ได้เข้าจับกุม พญ.ทัศพร รัตน์วงศา อายุ 42 ปี แพทย์รังสีวิทยา โรงพยาบาลธนบุรี ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหากระทำความผิดตามมาตรา 14 พ.ร.บ.เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความเสียหายปี 2550 ข้อหานำเข้าข้อมูลอื่นและเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ ทำให้ประชาชนหลงเชื่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงต่อประเทศ โดยมีพฤติกรรมไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ ปล่อยข่าวให้เกิดความเสื่อมเสีย โดยผู้ต้องหายอมรับว่า เคยโพสต์ข้อความมิบังควรลงในเว็บบอร์ดจริง
           ขณะนี้ทางตำรวจได้ยึดเอาคอมพิวเตอร์ของผู้ต้องหามาตรวจสอบ ว่าจะมีผู้ใดเกี่ยวข้องอีกบ้าง หากพบมีผู้เกี่ยวข้องก็จะออกหมายจับเพิ่มเติมต่อไป

ผู้ต้องหากระทำความผิดตามมาตรา 14 พ.ร.บ.เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความเสียหายปี 2550 มีโทษจำ 5 ปี ปรับ 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
วิเคราะห์ข่าว
            น.ส.ธีรนันต์ วิภูชนันธ์ ได้ทำการ โพสต์ข้อความอันมิบังควรผ่านทางเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ต จนก่อให้เกิดความไม่มั่นคงต่อประเทศชาติและส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจรวมถึง ตลาดหุ้นไทย

พฤติกรรมการกระทำผิด
            โพสต์ข้อความอันมิบังควรผ่านทางเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ต จนก่อให้เกิดความไม่มั่นคงต่อประเทศชาติและส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจรวมถึง ตลาดหุ้นไทย

วิธีการป้องกัน

              ไม่ควรโพสข้อความหรือข้อมูลลงบนอินเตอร์เน็ต ที่มีผลกระทบต่อสังคม และจะป้องกันตัวเองจากการใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ โดยไม่ล๊อกอินชื่อตัวเองไว้ในเครื่อง
           
บทลงโทษ
 มาตรา14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

             1 นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
            2 นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
          3 นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
            4 นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
          5 เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1)(2) (3) หรือ (4)

ข้อมูลข่าว :  http://news.sanook.com/crime/